วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ชีวประวัติ
ฟรอยด์ เกิด ณ เมืองไฟรเบิร์ รัฐโมราเวีย ประเทศเซโกสโลวะเกีย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม  ค.ศ.  1856 เป็นชาวยิว บิดาเป็นพ่อค้าขนสัตว์ ฐานะปานกลาง เมื่ออายุ 4 ขวบ บิดาย้ายครอบครัวไปอยู่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เขาเข้าเรียนจบวิทยาศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเวียนนาเมื่อ ปี ค.ศ. 1873  วิทยฐานะนี้ประกอบอาชีพมีรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว ไปศึกษาแพทย์ศาสตร์ต่อ เขาสนใจทางประสาทวิทยาและการสะกดจิตมาก ต่อมาได้รับการฝึกฝนเป็นนักจิตวิเคราะห์ และประกอบอาชีพเป็นจิตแพทย์อยู่ในกรุงเวียนนานั้นเอง
        ฟรอยด์แต่งงานกับมาร์ชา เบอร์เน มีบุตรธิดา 6 คน และอยู่กินด้วยกันตลอดชีพ ฟรอยด์อาศัยอยู่ในกรุงเวียนนาเกือบตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อพวกนาซีเข้ามายึดครองเมืองจีงได้อพยพไปอยู่กรุงลอนดอนเมื่อ ค.ศ. 1938 และสิ้นชีพ ณ ที่นั้นปีถัดมา

แนวคิดที่สำคัญ
1.    จิตใต้สำนึก 
                ฟรอยด์เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับจิตใต้สำนึกเท่านั้น ฟรอยด์เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับจิตใต้สำนึก เขาเปรียบเทียบว่าจิตใจมนุษย์มีสภาพคล้ายภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มีส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นส่วนเป็นส่วนน้อย ยังมีส่วนอยู่ใต้ผิวน้ำเป็นส่วนใหญ่โตมาก ภาวะติตระดับที่มีความสำนึกควบคุมอยู่เช่นเดียวกับส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำ ภาวะจิตใจใต้สำนึกเหมือนส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย ฟรอยด์ อธิบายว่าจิตระดับใต้สำนึกมีกลไกทางจิตหลายประเภทด้วยกัน เช่น แรงจูงใจ อารมณ์ที่ถูกำเก็บกด ความรู้สึกนึกคิด ความฝัน ความทรงจำ ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกมีอิทธิพลเหนือจิตสำนึกกระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติพฤติกรรมประจำวันทั่ว ๆ ไป เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผลและผิดปรกติในลักษณะต่าง ๆ ฟรอยด์ได้ใช้เวลาศึกษาเรื่องจิตใต้สำนึกอยู่ถึง 40 ปี ได้เขียนหนังสืออธิบายเรื่องนี้ไว้ยืดยาว
                พลังจิตใต้สำนึกที่ไม่มีโอกาสได้แสดงพฤติกรรมออกมานั้น มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ รูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เช่น รู้สึกกลัวตลอดเวลา กามวิปริต ซึมเศร้าตลอดเวลา ฯลฯ การช่วยเหลือบุคคลที่มีพฤติกรรมผิดปรกติประเทนี้ จำเป็นต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึงพลังจิตให้สำนึกที่เป็นต้นเหตุ จิตแพทย์สกุลฟรอยด์อาจใช้วิธีการสะกดจิต หรือการบำบัดแบบ Free Association  เพื่อให้คนไข้ได้เปิดเผยพลังจิตใต้สำนึก ซึ่งเขาไม่เคยเล่า ไม่เคยเปิดเผย ไม่เคยแสดงออกหรือ ซึ่งเจ้าตัวเองก็อาจไม่ตระหนักรู้มาก่อน
                พลังสำนึกและใต้สำนึก กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบพฤติกรรมต่าง ๆ นานา พฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตสำนึกอย่างเดียว เช่น การพูดอย่างระมัดระวัง พฤติกรรมส่วนมากเกิดจากพลังผลักดันของจิตสำนึกและจิตมใต้สำนึกปะปนกัน  เช่นบางคราวเผลอพูด คิด ทำ แล้วมีสติระลึกได้ทันทีว่าควรหรือไม่ควร จึงเปลี่ยนคำพูด วิธีคิด การกระทำพฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตใต้สำนึกอย่างเดียว เช่น ความฝัน การพลั้งปาก การทำอะไรอย่างเผลอไผล ไม่รู้ตัว
2.    โครงสร้างบุคลิกภาพ
      ฟรอยด์ อธิบายว่า โครงสร้างบุคลิกภาพ ประกอบด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Egoและ Super Ego  (ยังไม่พบศัพท์ภาษาไทยที่แปลได้ตรงความหมายอย่างแม่นยำ ) พลังทั้ง 3 มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็มีอิทธิพลต่อกันและทำงานร่วมกัน บุคลิกภาพของผู้ใดมีลักษณะใดขึ้นอยู่กับพลัง Id Ego และ Super Ego  ทำงานร่วมกันในลักษณะอย่างไร
                        1. Id  เป็นพลังงานคิดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด จึงหมายรวมทั้งสัญชาตญาณด้วย มักเกี่ยวพันกับการสนองความปรารถนาทางกาย เป็นพลังเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจ โดยไม่คิดคำนึงถึงเหตุผลตามความเป็นจริง หรือความถูกต้องดีงาม พลัง Id จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พลังแสวงหาความสุข (Pleasure Seeking Principle)  พฤติกรรมที่เกิดจากการกระตุ้นของพลัง Id  เป็นพลังอำนาจอย่างหนึ่งของบุคคลในอันที่จะต้องทำอะไร  ๆ ทุกอย่างเพื่อสนองความปรารถนาของอินทรีย์ ให้ชีวิตมีความสุขสบาย  Id เป็นระบบที่ผลักดันให้บุคคลแสวงหาความสุขความพอใจที่ต้องการอยากจะได้อยู่ตลอดชีวิต เป็นระบบ ของความปรารถนาและทำอะไรตามใจได้อย่างรุนแรงโดยปราศจากเหตุผล Id  จึงเป็นส่วนที่มนุษย์แสวงหาความสุขสำราญ  ไม่รู้ผิดรู้ถูก ไม่รู้ผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น วิธีการใดจะนำมาให้ชีวิตได้รับการบำบัดความต้องการกระหายความอยากเป็น
                ต้องทำทั้งนั้น ถ้าทำไม่ได้ก็จะแสดงออกมาในรูปแบบของการฝัน Fleud ถือว่าความฝันเป็นการแสดงความปรารถนาของเราให้สมใจเสมอ (Wishfulfillment)  เราจะฝันถึงสิ่งที่เราอยากได้ทุกครั้ง จะเห็นว่า คนพวกจิตเภท คือเป็นโรคจิตรุนแรง อำนาจของ Id  แสดงออกมาให้เห็นมากที่สุด Id แสดงตัวออกมาให้เห็นตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กพลัง Id มีแรงผลักดันสูงมากกว่าพลัง Ego และ Super Ego  หากเด็กถูกกักกันมาเกินไปไม่ให้ได้รับความพึงพอใจตอบสนอง Id  ดังนี้จะเป็นผลร้ายต่อพัฒนาการบุคลิกภาพที่สมดุลในภายหน้า เช่น เป็นคนอ่อนไหวง่ายต่อคำสรรเสริญ นินทา เป็นต้น
                2. Ego   เป็นพลังแห่งการรู้และเข้าใจ การรับรู้ข้อเท็จจริง การใช้เหตุผล การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย การแสวงหาวิธีการเพื่อตอบสนองพลัง  Id เช่น เมื่อหิว พลัง  Ego  ก็จะใช้เหตุผลตรึกตรองว่าจะบำบัดความหิวได้โดยวิธีใด ตามสถานภาพแวดล้อม เช่น ไปสำรวจตู้เย็นก่อน ทำอาหารเอง ไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ฯลฯ  จึงมีชื่อเรียกว่า Ego  อีกอย่างว่าพลัง รู้ความจริง”  ( Resllity Principle)   
                3. Super Ego  เป็นพลังที่คอยควบคุม Ego  ให้หาหนทางที่เหมาะสมที่สุดในการสนองความต้องการ Id โดยเหนี่ยวรั้งให้ทำอะไรอยู่ในกรอบประเพณี  ถูกเหตุถูกผล ให้คำนึงถึงความผิชอบชั่วดี มีคุณธรรม และสังคมเป็นใหญ่
                 Super Ego  เป็นพลังหรืออำนาจขั้นสูงสุดยอดเหนือ  Id  และ Ego อีกทีหนึ่ง กล่าวคือ พัฒนาการมาจาก Ego  อีกทีหนึ่ง เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของมาตรฐานหรือคุณค่าทางศีลธรรมจรรยา ซึ่ง Ego  ได้เรียนรู้มาจากการที่ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ Super Ego  ทำหน้าที่ธรรมสำนึก (Conscience)  เป็นมโนธรรม (Conscience)   ตักเตือนว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเลวควรหลีกเลี่ยงเตือนให้รู้ว่าสิ่งนี้ผิดจงอย่าทำ และทำหน้าที่อุดมการณ์ (Ideal) สอนให้ทำดีทำหน้าที่เป็นดุดมคติแนะนำว่าอะไรเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่ควรทำ Super Ego  เป็นส่วนประกอบหนึ่งของบุคลิกภาพของบุคคล ที่จะกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ   โดยยึดมั่นในอุดมคติหลักศีลธรรม ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น Super Ego  เป็นศีลธรรมประจำใจ ของบุคคล Super Ego เป็นการประพฤติปฏิบัติโดยยึดหลักศีลธรรม ระบบนี้จึงเป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณธรรมต่าง ๆ ที่สังคมยอมรับและต้องการเป็นระบบ Moral Principle พูดให้เข้าใจง่าย ว่า Super Ego  บังคับคนเราในทางศีลธรรมจรรยาให้รู้สึกผิดชอบชั่วดีตามแนวคิดของสังคม ไม่ใช่การทำอะไรตามใจตนเองเพื่อความสุขเพื่อความจริงตามร่างกายอยากได้โดย
อำนาจ  Id   และ  Ego  แต่ลำพังการกระทำต้องอยู่ในทำนองคลองธรรมมีศีล มีสัตย์เป็นต้น  ลักษณะ Id  Ego  และSuperego มีความสัมพันธ์กันในตัวบุคคลอันบังคับให้แสดงพฤติกรรมออกมาร เป็นบุคลิกภาพต่าง ๆ กันของคนเรา
                เมื่ออธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพว่าเป็นไตนามิก คือต้องมีการปรับตัวอยู่ร่ำไปเพราะส่วนประกอบทั้งสามของโครงสร้างบุคลิกภาพนี้จะขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา โดยที่ Id  จะเอาแต่ความสุขสำรายตามใจเท่านั้น พยายามที่จะหาความพอใจมาตอบสนองความต้องการของตนเอง ก็ตั้งหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมไว้อย่างสูงส่ง ต้องทำสงครามต่อทั้ง Id เพราะทั้งสองอย่างตัวนี้มักจะหลงลืมบัญญัติทางศีลธรรม ซึ่ง Superego เป็นผู้พิทักษ์อยู่ร่ำไปส่วน Ego  จะเสือกไสไม่ยอมรับข้อเสนอของ Id  บางครั้งก็เข้ากับ Superego แล้วแต่สถานการณ์ ระบบลักษณะระบบดังกล่าวทั้ง 3 ระบบนี้มีความขัดแย้งตอลดเวลา ขณะใดที่ระบบใดชนะ มีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมของบุคคลก็จะแสดงออกมาตามแนวของระบบนั้น จึงจะเห็นกันบางทีจะมีท่าทีขัดแย้งกันเองอยู่ในบางครั้ง  Superego  มีหน้าที่คอยหักห้ามความอยาก คือ Id  มิให้แสดงอาการตามความเรียกร้องของสัญชาตญาณ Superego จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กอายุ 5 ขวบ Superego จะทำงานตาม หลักการแห่งความสมบูรณ์นั่นคือเปรียบเสมือนอำนาจฝ่ายสูงที่คอยบอกถึงความถูกผิด ความสมควร ไม่สมควร ในการที่บุคคลจะมีพฤติกรรมเพื่อตอบสนองแรงจูงใจจาก Id  ซึ่ง Superegoนี้อาจเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์มีเวลาแห่งการเป็นทารกยาวนานกว่าสัตว์ใด ๆ เวลาเป็นทารกต้องพึ่งผู้ใหญ่เมื่อต้องพึ่งพาเขาก็เกิดวิตกกังวลว่าเขาจะหยุดรักตนเสียเมื่อไรก็ได้ ความวิตกอันนี้ทำให้ต้องรู้จักเอาใจเขา สิ่งใดที่เขาห้ามก็ไม่ทำ สิ่งใดที่เขาว่าดีจึงประพฤติตามแม้ว่าตนจะต้องสละความสำราญบางอย่างก็ต้องยอม ต่อมาแม้ไม่มีผู้ใหญ่คอยบงการ ก็รู้จักบังคับหักห้ามความอยากของตนได้  Id  มีแต่ความอยากเป็นตัวตัณหา  Superego  เป็นตัวมโนธรรม คอยเตือน  คอยควบคุม คอยกระตุ้นเป็นเสมือน ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงของ Ego ให้รู้ว่าควรหรือไม่ควรทำ ต้องทำหรืออย่าทำ”  อยู่ตลอดเวลา มิให้ตัวกลางต้องตกเป็นทาสของตัณหา เมื่อไรจิตใจรู้สึกอยากทำก็อยาก แต่กระดาก อายก็อาย นั่นคือ ตัวตัณหากำลังต่อสู้กับมโนธรรมเพราะ Superego เป็นส่วนที่ยึดเหนี่ยวกับหลักศีลธรรมคุณธรรมหรืออุดมคติ ซึ่งจะคอยควบคุม บัญชามิให้แสดงพฤติกรรมตามพลังขับของสัญชาตญาณเพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากสังคม

ขั้นพัฒนาการบุคลิกภาพ
                ฟรอยด์สนใจในเรื่องพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ และพลังบุคลิกภาพของบุคคลมาก เน้นการพัฒนามาตั้งแต่เด็ก และเน้นความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นทฤษฎีที่มีลักษณะรวมของแบบพัฒนาและแบบประทะสังสรรค์ ทฤษฎีบุคลิกภาพของเขาใช้อธิบายได้เป็น 2 แบบ คือ อธิบายในลักษณะทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีพลังแห่งบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพในลักษณะของทฤษฎีในกลุ่มพัฒนาการ อธิบายว่า พัฒนาการในวัยแรก ๆ ของชีวิต มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพเมื่อโต โดยลักษณะที่ปรากฏในเด็ก เช่น  วิธีการปรับตัวการแก้ปัญหาในเด็ก อาจติดตัวเด็กไป ( Fixation)  กลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพเมื่อโตไม่เปลี่ยนไปตามประสบการณ์และวุฒิภาวะ ลักษณะ Fixation  นี้อาจเกิดเฉพาะลักษณะใดลักษณะหนึ่งของบุคลิกภาพ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นทั้งหมดของบุคลิกภาพก็ได้
                ทฤษฎีนี้อธิบายบุคลิกภาพในลักษณะของการเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่วัยวาทรกไปจนโต ถือว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นในวัยแรกของชีวิตจะเป็นผลให้เกิดโครงสร้างของบุคลิกภาพที่คงอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลงได้น้อยและเปลี่ยนแปลงได้ยากภายหลัง ลักษณะที่ปรากฏในเด็กย่อมเป็นลักษณะของผู้ใหญ่วันหน้าได้มาก ทฤษฎีนี้เชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์พัฒนาขึ้นเป็นขั้นๆ ไป 

สัญชาติญาณ 
                ฟรอยด์กล่าวว่า สัญชาติญาณเป็นเรื่องที่อธิบายยากมาก เพราะตนเองก็ยังไม่เข้าใจสัญชาตญาณทั้งหมด อย่างไรก็ดีเขาได้อธิบายสัญชาติญาณ 2 ประเภทไว้ คือ ฐิติสัญชาตญาณ (Life Instinct)หรือมุ่งเป็น และภังคสัญชาตญาณ (Death Instinct)  หรือมุ่งตาย
                1.) ฐิติสัญชาตญาณ (Life Instinct)  คือ สัญชาตญาณเพื่อเอาชีวิตรอดและการดำรงพันธ์ เช่น ความหิว ความหระหาย แรงขับดันทางเพศ สรุปได้ว่าเป็นพลังชีวิต  สัญชาตญาณในกลุ่มนี้ที่ฟรอยด์สนใจมาเป็นพิเศษ คือ สัญชาตญาณเพศ ข้อเขียนแรกระยะแรก ๆ ของเขา ดูประหนึ่งว่าเขามีความปักใจเชื่อว่า พฤติกรรมเกือบทุกประเภทขอมนุษย์มาจากแรงขับดันโดยสัญชาตญาณเพศ สัญชาตญาณเพศตามมติของฟรอยด์นั้นมิได้จำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงเท่านั้น แต่เขาหมายรวมถึงความพึงพอใจที่มนุษย์เราได้รับจากกิจกรรมทางกาย เช่น กิจกรรมทางปาก (กิน พูด ฯลฯ ) เป็นตัวอย่างประการหนึ่ง
                2.) ภังคสัญชาตญาณ (Death Instinct) ฟรอยด์อธิบายว่าส่วนลึกของจิตใต้สำนึกมนุษย์ปรารถนาจะตาย มนุษย์ตะหนักดีว่าเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต คือความตาย ชื่อนี้เป็นชื่อกลุ่มสัญชาตญาณที่มีแนวโน้มในทางดังกล่าวนี้ ลักษณะที่เด่นชัดของสัญชาตญาณนี้คือแรงกระตุ้น ให้ก้าวร้าว ทำลาย เป็นความจริงที่มนุษย์ย่อมก้าวร้าวต่อตัวเอง เช่น ทำตัวเองให้เจ็บปวด หรือลำบาก และทำต่อผู้อื่น (เช่นรังแกข่มแหง)  ผู้ใดจะแสดงความก้าวร้าวต่อตนเองมากต่อผู้อื่นน้อย หรือต่อตนเองน้อยต่อผู้อื่นมากนั้นแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ในต้อนต้น ๆ ฟรอยด์เชื่อว่าแรงขับดันทางเพศมีความรุนแรงมากกว่าแรงขับก้าวร้าว แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟรอยด์เปลี่ยนความคิด เขาเริ่มเชื่อว่าแรงขับดันทั้งสองนั้นมีความรุนแรงพอ ๆ กัน
ฟรอยด์อธิบายว่า ทั้งฐิติสัญชาติญาณและภังคสัญชาตญาณ เป็นพลังปะทะสังสรรค์ในตัวบุคคล เช่น ทั้งรักทั้งเกลียด บางครั้งก็ชดเชยกัน เช่น แม่ที่ทีแรกโมโหตบตีลูก ต่อมากลับไปปลอบโยนอย่างอ่อนหวาน ลูกน้องที่ต้องยกย่องนายไม่ขาดปาก เมื่ออยู่ลับหลังอาจนินทาเจ้านายอย่างขึ้งเคียด ภรรยาทีรักสามีมากอาจรู้สึกบายใจเมื่อสามีจากไปไหนสักระยะหนึ่ง เป็นต้น

 ความหวาดกังกล   (Anxiety)
ฟรอยด์เชื่อว่า ความหวาดกังวลเป็นเรื่องที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะความปรารถนาของมนุษย์ไม่ได้รับการสนองสมใจเสมอไป หรือ Ego ไม่สามารถควบคุม Id  และ Super ego ได้อย่างสมดุลเหมาะเจาะตลอดมา ฟรอยด์แบ่งความหวาดกังวลออกเป็น ประเภท ได้แก่
(1)  Reality Anxiety   ได้แก่ ความไม่หวาดกลัวต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่อยู่รอบตัวเรา เป็นต้นกำเนิดของ  Neurotic Anxiety และ Moral Anxiety เป็นความกังวลที่เกิดข้นกับมนุษย์เราเป็นส่วนใหญ่
(2)   Neurotic Anxiety   ได้แก่ ความหวาดกลัวตัวเองว่า ตนจะไม่สามารถคุมสัญชาตญาณได้ จะทำสิ่งที่น่าอับอายขายหน้า จะถูกประจาน ประณาม และถูกลงโทษ
(3)    Moral Anxiety   ได้แก่  ความหวาดกลัวที่เกิดจากความสำนึกผิดชอบชั่วดี
              ภาวะเหล่านี้บีบคั้นจิตใจ มนุษย์ไม่พึงปรารถนาจึงพยายามหาทางผ่อนคลาย ดังนั้น Ego จึงแสวงหาวิธีลดภาวะไม่พึงปรารถนาเหล่านี้โดยวิธีการที่เรียกว่า กลวิธานป้องกันตัว” 

กลวิธานแห่งการปรับตัว  (Defense Mechanism)
                กลวิธานป้องกันตัวเป็นการปฏิเสธหรือปิดบังอำพรางความเป็นจริง เมื่อคนเราเกิดความวิตกกังวลขึ้นแล้วก็เป็นธรรมชาติที่จะพยายามขจัดความวิตกกังวลนั้นให้หมดสิ้นไปหรือหาทางหลีกหนีไปให้พ้นจากความวิตกกังกลนั้น คนเรามีความวิตกกังวลด้วยกันทุกคนขึ้นอยู่กับว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้น วิธีช่วยลดหรือขจัดความวิตกกังวล ในแง่ของจิตวิเคราะห์เรียกว่า Defense Mechanism หรือกลวิธานแห่งการปรับตัว การใช้กลวิธานแห่งการปรับตัว การใช้กลวิธานแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับแรงกระตุ้นที่เป็นรากฐานของความวิตกกังกลนั้นหรือกลวิธาน  ที่บุคคลนั้นเคยเรียนรู้มาสำหรับใช้ในวัฒนธรรมนั้น ดังนั้นกลวิธานแห่งการปรับตัวจึงมีอยู่ทั่วไปและชนิดของกลวิธานที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น