ทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณา เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
ความเป็นมาของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณา เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
แอลเบิร์ท เอลลิส (Albert Ellis) เกิดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1913 เมื่ออยู่ในวัยเด็ก เขาเป็นคนขี้โรค แต่ไม่ท้อถอย โดยทำตัวให้เข้มแข็งและใช้ชีวิตอย่างกระตือรือร้น เขาเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ใช้วิธีจิตวิเคราะห์และมีความเห็นว่าวิธีการนี้ใช้ไม่ได้กับทุกกรณีจึงเลิกใช้ เขาได้พัฒนาวิธีบำบัดแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational –Emotive Behavior Therapy) ขึ้น และได้เสนอหลักการและกลวิธีนี้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป
ผู้ให้บริการปรึกษาซึ่งใช้วิธีแบบจิตวิเคราะห์ แบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางและแบบภวนิยม ต่อต้านวิธีนี้โดยมีความเห็นว่าวิธีการนี้เน้นการคิด และความเข้าใจมากเกินไปทำให้ละเลยอารมณ์และนอกจากนั้นนักจิตวิทยาทฤษฎีอื่น ๆ ยังเห็นว่าวิธีของเอลลิสเป็นการทำสิ่งสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายเกินไป แต่เอลลิสก็ไม่ย่อท้อแม้จะได้รับการต่อต้าน
ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการให้บริการปรึกษา และส่งผลให้เกิดการยอมรับการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม เช่น การเคลื่อนไหวมาใช้วิธีเผชิญหน้า (encounter) โดยใช้หลักเหตุผลการใช้กลวิธีให้บริการปรึกษาแบบเกสตอบ ซึ่งเน้นกลวิธีคิดวิเคราะห์และการสอน การใช้วิธีการแบบภวนิยม ซึ่งใช้การสนทนากับผู้รับบริการโดยวิเคราะห์หลักปรัชญา นักจิตวิทยาหลายสาขาหันมาสนใจหลักการของการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งมีแนวคิดว่า สาเหตุของปัญหาด้านอารมณ์ของบุคคลเกิดจากการที่บุคคลมีความคิดเห็นเช่นใดกับตน และสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเขาได้เปลี่ยนแปลงแนวความคิดเสียใหม่ จะทำให้ความรู้สึกและการกระทำของเขาเปลี่ยนแปลงได้
ในขณะที่มีผู้สนใจแนวความคิดของการให้บริการปรึกษา โดยใช้เหตุผลและอารมณ์เอลลิสและนักจิตวิทยาท่านอื่น ๆ ได้เผยแพร่ความรู้ในศาสตร์สาขานี้ โดยแต่งหนังสือขึ้น เป็นต้นว่า หนังสือเรื่อง “A Guide to Rational Living” ( Ellis, ค.ศ. 1961 ) เรื่อง“Reason and Emotion in Psychotherapy” ( Ellis and Harper ,ค.ศ.1962)
เนื่องจากหลักการของการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล และอารมณ์พฤติกรรมนั้นเป็นหลักการที่สามารถอธิบายได้อย่างกระจ่างชัด ง่ายแก่การเข้ามาและการนำไปใช้ หนังสือเกี่ยวกับการให้บริการปรึกษาแบบนี้จึงแพร่หลาย และเป็นคู่มือให้นำไปประยุกต์ได้
ทฤษฎีการให้คำปรึกษา Rational –Emotive Psychotherapy ของ Dr. Albert Ellis
ทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบ Rational –Emotive Psychotherapy ของ Ellis เป็นวิธีการบำบัดที่ค่อนข้างจะเป็นแบบนำทาง มีความโน้มเอียงในการบำบัดทางความคิด โดยการให้ความรู้ แนวทางประพฤติปฏิบัติและเน้นหนักทางระบบการคิด การตัดสินใจ การวิเคราะห์และการตัดสินใจใหม่ด้วยใช้รูปแบบในการให้คำปรึกษาโดยวิธีการสอนอย่างตรง ๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ขึ้น ซึ่ง Dr. Ellis มีความเชื่อโดยทั่ว ๆ ไปว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับการคิดอย่างมีเหตุผล แต่มีแนวโน้มที่จะคิดในสิ่งที่ผิด มักจะตกเป็นเหยื่อของความเชื่อที่ไร้เหตุผล และทำตัวองไปตามความเชื่อเหล่านั้น ระบบความเชื่อของบุคคลจึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์
โรคประสาทเกิดจากความปรวนแปรทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่มาแสดงภายหลัง เมื่อเติบโตขึ้นมาโดยมีสาเหตุจากวิธีการคิด และการกระทำที่ไร้เหตุผล เป็นสื่อนำ Dr. Ellis ได้กล่าวไว้ว่า มีความคิดที่ไร้เหตุผลอยู่ 11 ประการ ที่ทำให้คนในสังคมแบบตะวันตกเป็น
โรคประสาท ความคิดดังกล่าวได้แก่
โรคประสาท ความคิดดังกล่าวได้แก่
1. ทุก ๆ คนต้องรักเราหรือยอมรับเราด้วยความจริงใจ
ความคิดเช่นนี้นับว่าไร้เหตุผล เพราะว่าบุคคลที่คิดดังนี้มักจะเป็นคนที่ทำอะไรคอยแต่เอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาจนไม่เป็นตัวของตัวเอง จะขาดความรู้สึกมั่นใจในตนเอง เพราะตามความเป็นจริงแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่คนรอบข้างเราทุกคนจะเห็นว่าเราดี การที่เราพยายามทำให้บุคคลอื่นรักและชอบเรานั้นย่อมเป็นการดีแต่เราก็ไม่ควรจะมุ่งหวังให้ทุกคนจะต้องมารักและนิยมชมชื่นในตัวเราจนทำให้เรากลายเป็นคนที่ขาดความเป็นตัวของตัวเองเพราะในสังคมทั่วไปนั้นย่อมมีทั้งบุคคลที่ชื่นชอบเราและชังเราปนกันไปอันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ ซึ่งเราเองก็ไม่ควรจะเป็นทุกข์ร้อนมากจนเกินไปนักถ้ามีบุคคลบางคนไม่ชอบเรา
2. เราเป็นคนมีคุณค่า มีความสามารถรอบตัว มีทุกอย่างพร้อมและประสบผลสำเร็จในชีวิต
ความคิดเช่นนี้ย่อมเป็นความจริงไปไม่ได้ คนที่ทำอะไรเรื่อต้องการจะเด่นหรือดังนั้น ในขั้นสุดท้ายของชีวิตมักจะลงเอยด้วยการเป็นโรคประสาท เพราะไม่มีใครจะรู้หมดเก่งหมดไปทุกด้าน เมื่อทำสิ่งใดไม่ได้ผลดังที่คาดหวังไว้ก็จะรู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจ แล้วก็จะด่าว่าตัวเองจนกลายเป็นคนมีปมด้อยหรือคอยจ้องหาโอกาสที่จะประณามผู้อื่น ซึ่งทำให้หมดความสุขในชีวิตคนฉลาดจะมองดูตนเอง ประเมินความสามารถของตนเองเพื่อว่าเวลาที่ทำอะไรจะได้ไม่ตั้งเป้าหมายที่สูงจนเกินไปจนทำไม่สำเร็จ แล้วมาตำหนิตนเองภายหลัง
3. บุคคลใดก็ตามซึ่งรวมทั้งตนเองด้วย เมื่อกระทำความผิด หรือบุคคลที่เลวทรามต่ำช้า จะต้องได้รับการลงโทษโดยทันทีอย่างสาสม
ความคิดเช่นนี้นับว่าไร้เหตุผล เพราะว่าโดยความเป็นจริงแล้ว ความดี ความเลว หรืออะไรผิดอะไรถูกนั้นเป็นสิ่งที่วัดกันได้ยาก แต่บุคคลที่มีความคิดว่า ผู้ที่ทำความผิด หรือผู้ที่เลวทราม ชั่วช้าควรจะต้องถูกลงโทษเพื่อประจานความผิดนั้นมักจะใช้มาตรการของตนเองไปตัดสินผู้อื่น ว่าดีหรือเลว ถูกหรือผิด แล้วทำตัวเป็นพระเจ้าคอยลงโทษผู้อื่นโดยที่ตนเองก็ยังไม่ทราบถึงสามเหตุที่แท้จรองของพฤติกรรมของผู้อื่นที่ตนกล่าวหา มนุษย์นั้นไม่มีใครที่สมบูรณ์พรั่งพร้อมไปหมดทุกประการย่อมจะมีดีมีเลวผสมกันไป บางครั้งการลงโทษก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาได้แต่กลับจะทำให้ผู้ที่ถูกลงโทษทรุดหนักลงไปกว่าเดิมอีก คนที่ฉลาดจะพยายามเข้าใจผู้อื่น พยายามหาทางยับยั้งผู้อื่นเมื่อเห็นว่าผู้อื่นประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม แม้ว่าจะได้พยายามจนสุดวิสัยแล้วก็ไม่ได้ผล ก็จะไม่เดือดร้อนเก็บมาคิดให้แค้นใจ ถ้าตนเองกระทำผิดก็ไม่ควรคิดตำหนิว่าจนเองจนเกินกว่าเหตุ แต่จะยอมรับหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ที่สำคัญคือเขาจะไม่ประนามตนเองว่าเป็นคนเลวจนให้อภัยไม่ได้
4. ถ้าคาดกหวังสิ่งใดแล้วไม่เป็นไปตามนั้น โลกนี้จะต้องพังทลาย หรือทนไม่ไหวจนแทบจะคลั่งตาย
ความคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล ตามธรรมดาผู้ที่ผิดหวังจะต้องรู้สึกไม่สบายใจ แต่ถ้าเก็บไว้คิดนาน ๆ หรือหายช้านั้นก็ไม่สมควรเพราะความขุ่นข้องหมองใจไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา แต่กลับจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เหตุการณ์นั้นเลวร้ายลงไปอีก เมื่อความผิดหวังเกิดขึ้นควรจะได้ยอมรับ
ในความผิดหวังนั้น แต่จะค่อยมองหาลู่ทางในการแก้ไขปัญหานั้น อะไรที่พอจะแก้ไขได้ก็แก้ไขไปอะไรที่แก้ไขไม่ได้ก็ยอมรับ เพราะความขุ่นข้องหมองใจย่อมทำให้ความสุขที่เราควรจะได้รับนั้นลดน้อยลงไป แต่ก็ยังไม่ถึงกับทำให้ความสุขของชีวิตหมดไปเลย
5. ความทุกข์มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งตัวเราไม่มีทางจะไปควบคุมอะไรได้เลย
ความคิดทำนองนี้ยังไม่ถูกต้องทีเดียวนัก เพราะความทุกข์นั้นเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับสิ่งแวดล้อมภายนอก เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับสิ่งแวดล้อมภายนอก เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะมีผลทำให้คนเราเป็นทุกข์มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความรู้สึกของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ ถ้าเราสามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจของตัวเองได้ เราก็จะควบคุมความรู้สึกทุกข์ร้อนได้เพราะสุขหรือทุกข์นั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่ใจของเราเอง
6. สิ่งอันตราย และน่าสะพรึงกลัวอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงคอยแต่พะวงคิดวิตกไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ
ความคิดเท่านี้นับว่าไร้เหตุผล เพราะว่าความกังวลใจจนเกินเหตุจะทำให้คนเราขาดความรอบคอบในการพิจารณาไตร่ตรองถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น แหละแม้ว่าเกิดอันตรายขึ้นมาจริงก็ไม่สามารถจะแก้ไขได้เพราะมัวแต่กลัดกลุ้มอยู่ พอดีพอร้ายก็พลอยเป็นผู้ที่ทำให้อันตรายนั้นเกิดขึ้นเองเพราะมัวแต่วิตกกังวลจะขาดสติ บางครั้งเหตุการณ์ก็มิได้รุนแรงดังที่คิดไว้แต่ตัวเองก็คิดมากเกินไปและกลัวไปเอง ความกลัวนั้นไม่ได้ช่วยให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ยุติได้ถ้าเหตุสุดวิสัยนั้นจะเกิดขึ้น แต่ความวิตกกังวลจนเกินกว่าเหตุจะทำให้อันตรายนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าที่จะเกิดขึ้นจริงไปอีก
7. คอยหลีกเลี่ยงความยุ่งยากและความรับผิดชอบ เป็นการดีกว่าที่จะไปเผชิญหน้ากับมัน
ความคิดเช่นนี้นับว่าไร้เหตุผล เพราะว่าการที่คนเราพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมักจะต้องพบกับความยุ่งยากลำบากใจในภายหลังมากขึ้นไปอีก และยังจัดว่าเป็นบุคคลประเภทที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ที่ใช้ชีวิตเรียบง่ายโดยไม่พิถีพิถันเลยก็ไม่จำเป็นว่าจะมีความสุขเสมอไป คนที่ฉลาดนั้นจะทำในสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงหรือละเว้นเฉพาะเรื่องที่เห็นว่าจำเป็น คนเราควรจะมีวินัยและมีความรับผิดชอบชีวิตจึงจะรื่นรมย์
8. เราต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา และต้องคอยหาผู้อื่นมาคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ
คนที่เวลาจะทำอะไรต้องคอยแต่เฝ้าร่ำหาผู้อื่นให้ช่วยเหลืออยู่ตอลดเวลานั้น จะทำให้เป็นคนที่ทำอะไรไม่เป็นตัวของตัวเองเป็นคนที่ขาดอิสรภาพ ขาดความมั่นใจ และสูญเสียโอกาสที่จะได้แสดงความสามารถของตนเอง คนที่ฉลาดจะพยายามทำอะไรด้วยตัวเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และเมื่อถึงคราวจำเป็นที่ต้องการความช่วยเหลือเขาก็จะออกปากขอความช่วยเหลือหรือยอมรับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นได แต่อย่างไรก็ตามเขาก็จะพยายามจะช่วยตนเองก่อน
9. ประสบการณ์ในอดีต เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งก่อนเป็นเครื่องตัดสินพฤติกรรมของบุคคลในปัจจุบัน อิทธิพลของอดีตที่เป็นมาอย่างไรก็ไม่มีวันที่จะลบล้างไปได้
ในทางตรงกันข้าม พฤติกรรมที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ซึ่งในอดีตอาจะเคยสำคัญมา ก็อาจไม่มีความสำคัญอะไรในปัจจุบันก็ได้ เพราะเหตุการณ์ในอดีตอาจไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ในปัจจุบันเลย การยกเอาอดีตมาเป็นสิ่งที่สำคัญนั้นมักจะเป็นข้ออ้างของบุคคลที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เหตุการณ์ในอดีตมิใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย คนที่ฉลาดจะระลึกเสมอว่าอดีตมีความสำคัญ เหตุการณ์ในอดีตจะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับปัจจุบันแต่เขาจะไม่ติดอยู่กับอดีตอย่างเคร่งครัด และเมื่อได้วิเคราะห์สิ่งสำคัญในอดีตแล้วก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีทางได้อย่างคล่องตัว
10. คนเราควรจะพลอยเป็นทุกข์ร้อนไปกับปัญหาของบุคคลอื่น
ความคิดเช่นนี้นับว่า ยังเป็นความเข้าใจผิดอยู่อีกมากเพราะว่าปัญหาของบุคคลอื่นที่เราไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลืออะไรเขาได้เราก็ไม่ควรจะเก็บมาวิตกทุกข์ร้อนจนเกินไป ถึงแม้ว่าเก็บมาวิตกทุกข์ร้อนก็ไม่สามารถช่วยอะไรเขาได้คนที่ฉลาดจะดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเราหรือไม่ ถ้าเกี่ยวข้องก็จะพยายามแก้ไขเท่าที่สามารถจะทำได้ ถ้าหากช่วยเหลืออะไรไม่ได้ก็ต้องยอมรับว่าช่วยไม่ได้ แต่ก็จะได้พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากช่วยเหลืออะไรไม่ได้ก็ต้องยอมรับว่าช่วยไม่ได้ แต่ก็จะได้พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
11. ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องมีผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือดีที่สุด และเราจำเป็นต้องหาให้ได้ มิฉะนั้นจะต้องเกิดผลร้ายขึ้นอย่างแน่นอน
ความคิดเช่นนี้ยังเป็นความคิดที่ไร้เหตุผล เพราะว่า
ก. โดยความเป็นจริง ไม่มีอะไรที่เป็นทางออกที่ดีที่สดเพราะสิ่งที่ดีที่สุดนั้นใช้เกณฑ์อะไรมาเป็นเครื่องวัด
ข. การมั่งมั่นจะหาทางแก้ไขที่ดีที่สุด จะก่อให้เกิดความวิตกกังวลจนทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ค. บุคคลที่ทำอะไรต้องดีที่สุดนั้น เป็นบุคคลที่จัดอยู่ในจำพวก Perfectionist ซึ่งเป็นพวกที่มองดูแล้วน่าสมเพชมากกว่าพวกที่ทำอะไรอย่างปกติธรรมดา
คนฉลาดจะมองหาทางแก้ไขหลาย ๆ ทาง แล้วยอมรับในแนวทางที่คิดว่าดีที่สุดเท่ามีอยู่และสามารถจะทำได้ พึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีทางออกใดที่ดีที่สุด หรือสมบูรณ์ที่สุด
จุดมุ่งหมายของการให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม
1. ช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักว่า การครุ่นคิดแบบผิด ๆ ก่อให้เกิดอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ผู้ให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการมีอารมณ์ที่มั่นคงเหมาะสม และระงับอารมณ์ที่จะก่อให้เกิดการพ่ายแพ้ตนเองหรือในความเสื่อมเสียมาสู่ตนเอง
2. ช่วยให้ผู้รับบริการมีความสนใจทั้งกับตนเองและบุคคลอื่น เป็นธรรมดาที่เราย่อมมีความสนใจตนเองก่อน และต่อไปจะให้ความสนใจแก่บุคคลอื่น เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่ในโลกกับบุคคลอื่น ฉะนั้นเขาจึงไม่ควรสนใจเฉพาะตนเอง แต่ควรให้ความสนใจและเมตตาต่อผู้อื่นด้วย จึงจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมโลกกันได้อย่างมีความสุข
3. ช่วยให้ผู้รับบริการมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถเลือกดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง ถ้าต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น จะต้องไม่เรียนร้องจากผู้อื่นโดยสิ้นเชิง
4. ช่วยให้ผู้รับบริการใจกว้าง ให้มีแนวความคิดว่าทุกคนย่อมีโอกาสผิดพลาดได้ เมื่อเห็นว่าบุคคลใดมีพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา ไม่ควรประณามว่าเกิดจากสันดานของเขา
5. ช่วยให้ผู้รับบริการยอมรับความไม่เที่ยงแท้ต่าง ๆ ผู้รับบริการควรมีอารมณ์มั่นคง และยอมรับข้อเท็จจริงว่า เราอยู่ในโลกของความไม่แน่นอน ไม่มีอะไรที่แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นไม่ควรยึดติดยึดมั่นถือมั่น และเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ขึ้นไม่ควรหวั่นไหวเกินกว่าเหตุ
6. ผู้รับบริการจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความยืดหยุ่นความคิดโดยยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีแนวความคิดต่างกัน โดยไม่ดันทุรังหรือทนไม่ได้เมื่อผู้อื่นแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากตน
7. ผู้รับบริการจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่เขาคิดว่าเขาเห็นความสำคัญและให้ความสนใจ
8. ช่วยให้ผู้รับบริการกล้าที่จะเสี่ยงตัดสินใจ หรือเสี่ยงกระทำสิ่งต่าง ๆ บ้าง แม้จะไม่แน่ใจในผลที่จะได้รับร้อยเปอร์เซ็นต์
9. ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความยินดีที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ และยอมรับตนเอง หาความสุขใส่ตัวได้โดยไม่ทำความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่น
10. ช่วยให้บุคคลพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบเต็มไปด้วยวิจารณญาณ เป็นต้นว่า ไม่ประเมินตนเอง โดยใช้เกณฑ์จากภายนอกโดยสิ้นเชิง เกณฑ์ภายนอก เช่น พิจารณาจากความสำเร็จที่ตนได้รับ หรือการที่บุคคลอื่นประเมินเขา โดยเฉพาะการประเมินจากคนเพียงคนเดียว
ทฤษฎีบุคคลภาพ ABC ของ Rational – Emotive Psychotherapy
ทฤษฎี Rational – Emotive Psychotherapy นี้ยอมรับความจริงว่าการที่คนเรากระทำการอะไรไปนั้นจะต้องมีสามเหตุปละการกระทำส่วนใหญ่มักจะเป็นไปด้วยความสมัครใจของตนเองแต่ทฤษฎีนี้มีความเชื่อที่ว่าคนเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง หรือกำหนดแนวชีวิตของตนเองได้แม้ว่าในบางครั้งอาจต้องใช้ ความพยายามที่ค่อนข้างสูงจึงสำเร็จก็ตาม ซึ่งการที่ยอมรับว่าพฤติกรรมมนุษย์เรา สามารถกำหนดพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเองได้นั้น สามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีบุคลิกภาพ ABC ซึ่ง A หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเรื่องราว หรือพฤติกรรม หรือ ทัศนคติของบุคคล C ได้แก่พฤติกรรมที่แสดงตอบโต้ออกมาในแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะโดยลักษณะปัญหาทางอารมณ์ หรือ โดยท่าทีที่ขาดความสุขซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกนี้มองดูคล้ายกับว่า เกิดขึ้นตาม A หรือตามเหตุการณ์ที่เป็นจริง แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า เหตุการณ์ที่เป็นไปตามความจริงคือ A นั้นไม่ใช่สาเหตุของพฤติกรรมที่โต้ตอบออกมา คือ C อย่างแท้จริง สาเหตุสำคัญได้แก่ B ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามความคิดที่แต่ละคนคิดแล้วบอกกับตนเอง โดยใช้ห้วงความคิดพร้อมทั้งตีความด้วยตนเองไปว่า เหตุการณ์นั้นมีอันตรายร้ายแรง น่าสะพรึงกลัวเพียงใด
ดังนั้นจึงควรหาทางเปลี่ยนแปลงระบบการคิด และพยายามควบคิดทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลบางคนที่คิดผิด ๆ ให้พยายามหันมาหัดใหม่ โดยคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
บทบาทของผู้ให้บริการปรึกษาและกลวิธีให้บริการปรึกษาโดยพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม
การให้บริการปรึกษาแบบพิจาณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมไม่ใช่กระบวนการที่ใช้วิธีเดียวอย่างยืดมั่น แต่เป็นวิธีที่ใช้กลวิธีหลาย ๆ อย่างตามความเหมาะสมโดยยึดหลักการต่อไปนี้คือ
สรุปได้ว่าต้นเหตุสำคัญคือความคิดที่ไร้เหตุผล หรือความคิดผิด ๆ นั้นก่อให้เกิดผลเสียด้านอารมณ์ คือ ทำให้เกิดอารมณ์ไม่เหมาะสม เป็นต้นว่า ทุกข์โศกหนัก ท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกมุ่งร้าย รู้สึกไร้ค่า อิจฉา ริษยา ซึ่งเป็นภัยต่อผู้มีปัญหา ก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา ฉะนั้นวิธีให้บริการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมจึงเน้นการหาวิธีแก้ความคิดผิด ๆ ที่เป็นต้นเหตุนั้นเสียโดยผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องเข้าใจวิธีคิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ของผู้รับบริการและสนับสนุนให้ผู้รับบริการเปลี่ยนวิธีคิดเสียใหม่ตามขั้นตอนต่อไปนี้คือ
ขั้นแรก ผู้ให้บริการปรึกษาชี้ให้ผู้รับบริการตระหนักว่าความคิดของผู้รับบริการเป็นความคิดที่ไร้เหตุผลอย่างไร และทำไมจึงคิดอย่างนั้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าความคิดที่ไร้เหตุผลเช่นนั้นทำให้เกิดปัญหาอารมณ์ได้อย่างไร ผู้ให้บริการปรึกษาพยายามช่วยให้ผู้รับบริการเรียนรู้ที่จะแยกความเชื่อที่มีเหตุผลออกจากเชื่อที่ไร้เหตุผล
ขั้นที่สอง ผู้ให้บริการปรึกษากระตุ้นให้ผู้รับบริการตระหนักถึงว่าเขาตะต้องรับผิดชอบต่อปัญหาของตนเอง อันเนื่องมาจากการที่เขาเฝ้าคิดอย่างไร้เหตุผล
ขั้นที่สาม ผู้ให้บริการปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการเปลี่ยนความคิด ไม่ขจัดความคิดอันไร้เหตุผลออกไปเสีย โดยใช้กลวิธีแบบนำทาง ชักชวน ชี้แจงเหตุผล
ขั้นสุดท้าย เป็นขั้นที่ผู้ให้บริการปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการมีความคิดที่มีเหตุผลในเรื่องทั่ว ๆ ไปซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญหาในปัจจุบันของตน เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการมีปรัชญาชีวิตอันเต็มไปด้วยเหตุผล เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของความคิดอันไร้เหตุผลอีกต่อไปในอนาคต
บทบาทของผู้ให้บริการปรึกษาดังนี้คือ
1. การสอนหรือการอธิบายโดยตรง (Direct Teaching)
ผู้ให้บริการปรึกษาจะอธิบายหรือชี้แจงแก่ผู้รับบริการโดยตรงเพื่อแก้ความคิดไร้เหตุผลของผู้รับบริการ เป็นต้นว่า ถ้าผู้รับบริการมีความเชื่อผิด ๆ ว่าตนจะต้องเป็นคนที่สมบูรณ์แบบมิฉะนั้นจะเป็นคนที่ไร้ค่า ผู้รับบริการคิดว่าตนเองไร้ค่า เพราะพี่เก่งคำนวณ น้องมีพรสวรรค์ด้านดนตรี แต่เธอไม่มีอะไรเด่นเลย
ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้บริการปรึกษาควรชี้แนวทางให้ผู้รับบริการเข้าใจว่าแม้ว่าเธอจะไม่มีอะไรเด่น แต่ไม่ได้หมายความว่าเธอจะด้อย ความสามารถเป็นสิ่งที่มีระดับ เมื่อเปรียบเทียบกับพี่ ผู้รับบริการมีความสามารถทางคำนวณน้อยกว่า ไม่ได้หมายความว่าผู้รับบริการจะไม่มี
ความสามารถด้านนี้เลย ผู้รับบริการก็มีความสามารถด้านคำนวณแต่อยู่ในอีกระดับหนึ่ง และผู้รับบริการมีศักยภาพด้านอื่นอีกซึ่งอาศัยเวลาและประสบการณ์ในอันที่จะพัฒนาศักยภาพนั้น ๆ
ในกรณีที่ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเป็นคนไม่ดีเพราะยังมีอารมณ์โกรธอยู่ให้ผู้ให้บริการปรึกษาควรอธิบายให้ผู้รับบริการฟังว่า ความรู้สึกโกรธเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนมี เพียงแต่ต่างระดับกันเท่านั้น ถ้าแสดงออกอยู่ภายในขอบข่ายที่ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นและไม่รุนแรงเกินไปนักก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา
ในกรณีที่ผู้รับบริการพยายามหนีปัญหา ผู้ให้บริการปรึกษาควรสนับสนุนให้ผู้รับบริการเผชิญหน้ากับปัญหา แลพยายามทำให้สถานการณ์บรรเทาเบาลง โดยใช้ความคิดวิจารณญาณที่สุขุมรอบคอบ และมีศรัทธาในความสามารถของตนที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต
2. กำหนดงานให้ทำ (Homework Assignment)
ในกรณีที่ผู้รับบริการคิดว่า การเป็นผู้สนทนาที่ดีจะต้องรู้หัวข้อสนทนาต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ผู้ให้บริการปรึกษาอาจกำหนดให้ผู้รับบริการไปบันทึกหัวข้อสนทนาที่เขาได้ยินได้ฟังมาภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้รับบริการพบว่าหัวข้อสนทนาที่เขาได้ยินได้ฟังมาเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งไม่ต้องใช้ความรู้เฉพาะตัวมากนัก แต่เป็นการสนทนาที่เน้นการแสดงความคิดเห็นและทัศนคติ ซึ่งทำให้ผู้รับบริการรู้สึกสบายใจขึ้น และเกิดกำลังใจว่าก็สามารถจะพัฒนาการสนทนาของเขาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น