การให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว
การให้คำปรึกษาคืออะไร
• เป็นกระบวนการให้แนวทาง เพื่อช่วยให้ผู้มารับคำปรึกษาสามารถช่วยตนเองให้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขได้
• เป็นกระบวนการที่เอื้ออำนวยให้ผู้มารับคำปรึกษาสามารถพิจารณาปัญหาของตนอย่างถ่องแท้และเข้าใจปัญหาของตนเอง
• เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองโดยมีพื้นฐานการยอมรับ ความมีคุณค่า ความมีศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล มุ่งให้คนนำศักยภาพตนเองออกมา
ปัญหาของครอบครัว เกิดจากอะไร
• ความขัดแย้ง (ความคิด ความรู้สึก การกระทำ)
• ความสถิตย์ ยึดติด ไม่เปลี่ยนแปลง (ความเคยชิน เหมือนเดิม)
• การปฏิเสธ หลีกเลี่ยงความจริง (ไม่พร้อมเผชิญสภาพเป็นจริง)
• ความต้องการควบคุมอีกฝ่ายหนึ่งให้เป็น ให้มี ให้ได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ (การครอบครอง ความเป็นเจ้าของ)
• ความกลัว ความรู้สึกผิด ความละอายใจ (เสียดาย ดูถูก ยอมจำนน)
• การไม่อยู่กับปัจจุบัน (ย้อนอดีต กระโดดอนาคต)
ปัญหาการขัดแย้งของบุคคล
• 1. ปัญหาการไม่เข้าใจกัน
• 2. ปัญหาการสื่อสาร
• 3. ปัญหาการเป็นเอกัตบุคคล
การแก้ปัญหา
• 1. แยกแยะประเด็นปัญหาให้ชัดเจน
• 2. สื่อสารทำความเข้าใจ
• 3. ร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหา
• 4. แก้ไขตามวิธีที่เลือกไว้
เทคนิคการให้คำปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีของซะเทียร์ เป็นการผสมผสานเทคนิคจากทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt therapy) ละครทางจิต (psychodrama) และผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในการบำบัด (client-centered therapy) ผู้เขียน ขอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเทคนิคการให้คำปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีของซะเทียร์ ดังนี้
แผนที่ครอบครัว (family map) เป็นการเขียนแผนภูมิคล้ายกับการสืบทอดสกุล เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสมาชิกครอบครัว ตลอดจนเครือญาติในแต่ละชั้น แผนที่ครอบครัวมีผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมิน และยกระดับการรับรู้แบบแผนครอบครัวปัจจุบัน ท่ามกลางความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัว กล่าวคือเป็นการรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมาชิกครอบครัวทางโครงสร้างย้อนขึ้นไป 3 รุ่น ประกอบด้วย ครอบครัวเดิมของแม่ ครอบครัวเดิมของพ่อ และครอบครัวปัจจุบัน ช่วยให้เห็นแนวทางในการปฏิบัติที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แสดงค่านิยมของบุคคลและกฏเกณฑ์ที่ใช้ในครอบครัว
ตัวอย่าง การใช้เทคนิคแผนที่ครอบครัวเป็นกิจกรรมในการบำบัด
ผู้บำบัด จะวาดภาพความสัมพันธ์ของครอบครัวลงในกระดาษแผ่นใหญ่ ขณะที่ครอบครัวเตรียมเล่าเรื่องราว โดยวงกลมแสดงถึงสมาชิกครอบครัวแต่ละคน ตั้งแต่รุ่นอายุที่ย้อนขึ้นไปและต่ำลงมา จากนั้น ผู้บำบัดจะถามสมาชิกครอบครัวถึงบทบาทความสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่น อาทิ ความสัมพันธ์กับภรรยา ความสัมพันธ์กับมารดา และอาชีพของผู้หญิง แล้วดึงเอาบทบาทที่แตกต่างออกมา พร้อมตั้งชื่อบทบาทนั้นในแต่ละวงกลม และถามสมาชิกครอบครัวถึงบทบาทหลักของบุคคลที่กล่าวถึง การจัดกระทำเหล่านี้ ก่อให้เกิดการอภิปรายสิ่งที่แตกต่างและความหลากหลายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เน้นความสามารถในการเข้าใจถึงบทบาท และความคาดหวังที่แตกต่างกันของสมาชิกครอบครัว
การวาดแผนที่ครอบครัว สามารถช่วยให้ผู้บำบัดประเมินความสัมพันธ์ของผู้เข้ารับการบำบัดกับสมาชิกครอบครัวและบุคคลอื่น เพื่อช่วยให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ตระหนักรู้ถึงศักยภาพของตนต่อสมาชิกครอบครัวและบุคคลอื่น ซึ่งถือเป็นวิธีการสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในจิตใจ
คุณสมบัติในการเป็นที่ปรึกษา
เทคนิคและทักษะทางจิตวิทยาในการให้คำปรึกษาแก่วัยรุ่นและครอบครัว
1. ขั้นเริ่มต้นให้คำปรึกษา
2. ขั้นสำรวจปัญหา
3. ขั้นทำความเข้าใจปัญหา
4. ขั้นตั้งเป้าหมาย และ ดำเนินการแก้ปัญหา
5. ขั้นยุติการให้คำปรึกษา
ทักษะในการให้คำปรึกษา
1. ทักษะเบื้องต้นในการใส่ใจ(Basic Attending Skills)
1.1 พฤติกรรมการใส่ใจ ได้แก่ การประสานสายตาการใช้ภาษากายที่เหมาะสม น้ำเสียง การแสดงออกทาง สีหน้าและการพูดที่สอดคล้องหรือการตอบสนองด้วยคำพูด
1.2 ทักษะการใช้คำถาม
คำถามปลายเปิด : เปิดโอกาสให้ผู้รับคำปรึกษาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ คำถามปลายเปิดมักมีคำต่อไปนี้ อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร แต่ให้หลีกเลี่ยงคำว่า ทำไม เพราะจะทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความรู้สึกว่าตนเองถูกตำหนิ และ เกิดการต่อต้าน
คำถามปลายปิด : ใช้เมื่อต้องการให้ได้ข้อมูลเฉพาะเจาะจง คำถามมักลงท้ายด้วยคำว่า ใช่ไหม หรือ
1.3 ทักษะการฟัง
จุดมุ่งหมายหลักของการฟัง คือ
1. เข้าใจพฤติกรรมที่ไม่ใช่ภาษาพูด
2. เข้าใจพฤติกรรมที่เป็นภาษาพูด
3. เข้าใจผู้รับคำปรึกษาในฐานะเป็นบุคคลคนหนึ่ง
1.4 ทักษะการกระตุ้นเพียงเล็กน้อย ( Minimal Encouragement )
เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาใช้ภาษาท่าทาง เช่น ผงกศีรษะ และ ท่าทางที่แสดงความใส่ใจ และภาษาพูดสั้น ๆ เพื่อแสดงให้ผู้รับคำปรึกษารับรู้ถึงความสนใจที่จะติดตามเรื่องราว และส่งเสริมให้เขาหรือเธอเล่าเรื่องต่อไป
1.5 ทักษะการทวนความ
เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาใช้ในการส่งข่าวสารกลับไปยังผู้รับคำปรึกษา เพื่อตอบสนองสิ่งที่เขาหรือเธอกำลังรับฟังอยู่ โดยการเล่าถึงเนื้อหา และ ความหมายนั้นเสียใหม่ ด้วยคำพูดของผู้ให้คำปรึกษา
1.6 ทักษะการสะท้อนความรู้สึก
เป็นวิธีการหนึ่งของกระบวนการฟัง เพราะเป็นการที่ผู้ให้คำปรึกษาใช้ในการส่งข่าวสารกลับไปยังผู้รับคำปรึกษา เพื่อตอบสนองสิ่งที่เขาหรือเธอกำลังรับฟังอยู่ เช่นเดียวกับการทวนความ แต่ต่างกันที่การสะท้อนความรู้สึกจะเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นอารมณ์และความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษาเท่านั้น
1.7. ทักษะการสรุป
เพื่อรวบรวมความคิด และ ความรู้สึกที่สับสน กระจัดกระจายให้เป็นกลุ่ม หรือ เป็นการสรุปความสำคัญ ๆ ในกรณีที่มีการสนทนายาว ๆ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา เพื่อช่วยเตรียมตัวผู้รับคำปรึกษาให้พร้อมก่อนที่จะให้คำปรึกษาครั้งต่อไป
ทักษะในการให้คำปรึกษา
2. ทักษะเบื้องต้นในการโน้มน้าวใจ (Basic Influencing Skills)
2.1 ทักษะการเจาะจง
2.2 ทักษะการเผชิญหน้า
2.3 ทักษะการนำ
2.4 ทักษะการสะท้อนกลับ และ การเปิดเผยตนเอง
2.5 ทักษะการตีความหมาย
สิ่งที่สังคมและผู้รับคำปรึกษาคาดหวังจากผู้ให้คำปรึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ความรู้
2. ความเป็นกันเอง
3. ความเข้าใจผู้ป่วย
4. ความเป็นผู้มีบุคลิกภาพเหมาะสม
5. ความเป็นผู้มีวาจาถูกต้องและเหมาะสม
6. ความเป็นผู้มีจริยธรรม และ คุณธรรม
ลักษณะทางอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงถึงปัญหาด้านจิตใจในวัยรุ่นและครอบครัวที่มารับคำปรึกษา
1. ความวิตกกังวล ( Anxiety )
2. ความกลัว ( Fear )
3. ความโกรธ ( Anger )
4. ซึมเศร้า ( Depression )
สรุปหลักปฏิบัติในการให้คำปรึกษา
1. สนใจต่อสิ่งที่วัยรุ่นและครอบครัวพูด ( Attending )
2. การสังเกตอย่างรอบคอบ (Observe )
3. การฟัง
- ฟังแบบต่อต้าน
- ฟังแบบเลือกฟัง
- ฟังแบบตั้งใจฟัง
- ฟังด้วยความเข้าใจ
4. การโต้ตอบ
- คำพูดที่สนทนาต้องมีความหมายชัดเจน
ไม่คลุมเครือ
- แสดงถึงการเข้าถึงความรู้สึกของผู้มารับคำปรึกษา
5. การแปลความหมายพฤติกรรม
6. การตรวจสอบความถูกต้อง
การให้คำปรึกษาครอบครัวมองภาพครอบครัว เป็นระบบ ระบบย่อย ในครอบครัว ( Family Subsystem )ประกอบด้วย
• เพศ ( Gender )
• ระบบสามีภรรยา ( The Spouse Subsystem )
• ระบบพ่อแม่ ( The parental Subsystem )
เป้าหมายในการให้คำปรึกษา
ทำให้เกิดสภาพการณ์ใหม่ ซึ่งจะทำให้ครอบครัวปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ระบบความสัมพันธ์ของตนให้เหมาะสมกว่าเดิม
แนวคิดการให้คำปรึกษาครอบครัว
1. เน้นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายนอกจิตใจ มากกว่าภายในจิตใจ
2. เพ่งเล็งที่ระบบทั้งหมด
3. มองปัญหาแบบวงจรไม่มองแบบเส้นตรง
4. สนใจว่าปัญหาดำเนินอยู่ได้อย่างไรและมีบทบาทอย่างไร
5. มุ่งที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ทฤษฏีครอบครัว เชื่อว่า
1. ครอบครัวเป็นหน่วยทางอารมณ์ ( The Family as an emotional unit )
2. สมาชิกแต่ละคนจะมีความผูกพันกัน ประสานกันและติดต่อเกี่ยวข้องกัน ( A network of interlocking
Relationships )
3. จะเข้าใจครอบครัวมากยิ่งขึ้น หากสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น