ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษาของ
คาร์ล อาร์ โรเจอร์
คาร์ล
โรเจอร์ ได้พัฒนาทฤษฎีการเข้าใจตนเองอย่าง ถ่องแท้ ในแง่ที่คนเรามีแรงขับพื้นฐานภายในที่จะบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เรียกว่า Self-Actualizingโรเจอร์ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเลี้ยงดู
โดยเฉพาะการเลี้ยงดูของแม่ที่จะมีอิทธิพลกับบุคลิกภาพของลูก
และให้ความสำคัญกับอัตมโนทัศน์ (Self Concept) ที่เป็นมุมมองที่คนเรามีเกี่ยวกับตนเองนั้นว่าประกอบด้วย
3 ส่วน ได้แก่
Ø ตัวตนในอุดมคติ (IdealSelf)
Ø ภาพลักษณ์เกี่ยวกับตัวตนที่ดี (Self Image)
Ø การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem)
แนวคิดของ คาร์ล อาร์ โรเจอร์
ในการบำบัดแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
โรเจอร์ให้ความสำคัญกับเหตุผลเป็นอันดับรอง โรเจอร์เชื่อว่า
สัญชาตญาณของมนุษย์ชาญฉลาดกว่าสติปัญญา สติปัญญาชาญฉลาดกว่าความคิดที่รู้สำนึก
ตามแนวคิดของโรเจอร์ มนุษย์ควรจะสามารถเชื่อในความรู้ภายในตัวเอง หรือความรู้สึก “ตามสัญชาตญาณ” ของตนมากขึ้น
เมื่อมนุษย์กระทำการตามสัญชาตญาณ
มนุษย์สามารถเชื่อในปฏิกริยาของอินทรีย์ทั้งครบของตนเอง
ซึ่งบ่อยครั้งให้ผลถึงการตัดสินใจที่ดีกว่า
ผู้ที่ทำการโดยการคิดแบบรู้สำนึกเพียงอย่างเดียว
แม้ว่าจะเป็นการกระทำโดยใช้สัญชาตญาณมากกว่าก็ตาม
ตามแนวคิดของโรเจอร์
มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ และนิยามความโน้มเอียงนี้ว่า
“ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ” ของอินทรีย์ที่จะพัฒนาความสามารถทั้งหมดของตนเอง
ซึ่งช่วยในการธำรงไว้ และความก้าวหน้าของอินทรีย์นั้น
ความโน้มเอียงที่จะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ เป็นแรงผลักดันหลักของมนุษย์
ตามแนวคิดนี้
โรเจอร์มุ่งเน้นความโน้มเอียงของมนุษย์ต่อการเติบโตทางกาย วุฒิภาวะ
และความต้องการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างใกล้ชิด
และความโน้มเอียงของเขาที่จะจัดตนเองเข้าในสภาพแวดล้อม
เพื่อจะไปสู่ความเป็นอิสระของตนเอง จากการควบคุมภายนอกต่างๆ
หน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษาแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้เป็นการชี้นำ
หรือทำให้ปัญหากระจ่างขึ้นสำหรับผู้รับคำปรึกษา
แต่ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาคิดทบทวนภายในตนเอง
โดยจัดให้เกิดบรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมการ กระทำดังกล่าว
โดยอาศัยการยอมรับตนเองของผู้รับคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้เขาสามารถแสดงออก
พิจารณา และทำให้ประสบการณ์ที่ตรงกัน หรือไม่ตรงกัน
ก่อนหน้านี้สามารถประสานเข้าในมโนภาพของตัวตนของเขา บุคคลจะค่อยๆ ยอมรับตนเอง
และเรียนรู้ที่จะยอมรับผู้อื่น และกลายเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น สำหรับโรเจอร์
จึงดูเหมือนว่าหัวใจมีความสำคัญมากกว่าหัวสมองในการให้คำปรึกษา
หลักการทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษา
ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง เชื่อว่า
มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา
และสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี
มีความปรารถนาที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
และพร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกันในอันที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์
แต่การที่มนุษย์ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมนั้น
เนื่องจากเขามีความจำเป็นต้องป้องกันตนเองให้อยู่รอด นอกจากนี้ยังเชื่อว่า
บุคลิกภาพของมนุษย์เกิดขึ้นจากความคิด ความรู้สึกของบุคคลต่อตนเอง (Self
concept) ซึ่ง Self concept นี้จะประกอบไปด้วย
· ตัวตนในสภาพที่เป็นจริง (Real self)
· ตัวตนที่เราคิดว่าเราเป็น (Perceived self)
· ตัวตนในอุดมคติ (Ideal self)
ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าปัญหาที่สร้างความทุกข์ของบุคคล
เกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างสิ่งที่บุคคลต้องการ กับ สิ่งที่บุคคลเป็นอยู่
Ø ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางนั้นจะเน้นการให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง
เพราะมุ่งเน้นในตัวของผู้รับคำปรึกษาจากการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อ
การสร้างสรรค์และตระหนักรู้แห่งตนของผู้รับคำปรึกษา
ให้ผู้รับคำปรึกษาเห็นความสำคัญต่อการรับผิดชอบ
และความสามารถในตัวของผู้รับคำปรึกษาเอง ค้นหาพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
ด้วยการเปิดรับประสบการณ์ มีความไว้วางใจในตนเอง
เพื่อให้เป็นตัวของตัวเองอย่างที่เป็นอย่างถูกต้อง
Ø ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างสัมพันธภาพของบุคคล โดยการช่วยเหลือที่ผ่านสัมพันธภาพกับผู้ให้คำปรึกษาที่ให้ความเอาใจใส่
เข้าใจและมีความจริงใจ
เป็นสัมพันธภาพกับผู้ให้คำปรึกษาที่มีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมการแสดงออกกับความรู้สึกและความคิดภายใน
มีการยอมรับ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่เน้นการใช้เทคนิคที่ตายตัว
ผู้ให้คำปรึกษาจะใช้เจตคติในการเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ โดยผู้ให้คำปรึกษาควรมีคุณลักษณะของสัมพันธภาพการให้คำปรึกษา
ที่จะนำไปสู่การสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาอย่างเหมาะสม การติดต่อกันทางจิตใจ
บุคคลสองคนมีสัมพันธภาพต่อกันและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
จากทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
ทำให้มองเห็นทัศนะของการมองมนุษย์ของผู้ให้คำปรึกษา
ที่ยึดผู้รับคำปรึกษามากกว่าผู้ให้คำปรึกษา ด้านการเป็นศูนย์กลาง การให้ความสำคัญ
การมุ่งเน้น และการตัดสินใจของกระบวนการให้คำปรึกษา
โดยให้ความสำคัญแก้สัมพันธภาพแหล่งเบื้องต้น
เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของผู้รับคำปรึกษา มองถึงความสำคัญของเจตคติผู้ให้คำปรึกษา
มากกว่าเทคนิคในการส่งผลต่อสัมพันธภาพการให้คำปรึกษา
และเน้นปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึก
จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษา
· เพื่อให้ผู้รับการปรึกษา
· ค้นพบ เข้าใจ และยอมรับตนเอง
· หาทางที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เข้ากับความเป็นจริง
· เข้าใจตนเองว่าอะไรคืออุปสรรคของความเจริญงอกงามของตน
· รับรู้ถึงสิ่งที่ทำให้รับ รู้ตนเองผิดไปจากความเป็นจริง
เทคนิคในการให้คำปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษา
· การรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (Intensive
Listening )และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นจริงใจ
· การยอมรับฟังในเรื่องราวและความเป็นบุคคลของผู้รับการปรึกษาโดยไม่มีเงื่อนไข
โดยไม่ตัดสิน
· การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of
feeling)
· การทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัด (Clarifying)
· การสนับสนุน (Supportive)
ผู้ให้การปรึกษาที่ใช้
ทฤษฎี Client–Centered จะเปิดโอกาสและให้ความไว้วางใจ ตลอดจน
มอบความรับผิดชอบให้แก่ผู้รับการปรึกษาเป็นอย่างมาก ในเรื่องการตัดสินใจที่จะจัดการกับปัญหาด้วยตัวของผู้รับการปรึกษาเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น