วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการให้ปรึกษาแบบอัตถิภาวะนิยม

ทฤษฎีการให้ปรึกษาแบบอัตถิภาวะนิยม

ที่มา

                พัฒนามาจากปรัชญาแนวภวนิยมโดยมี เคิร์กการ์ด บิดาของปรัชญาภวนิยม และนิตเซ่ ได้นำมาพัฒนาโดย มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ คาร์ล เจสเปอร์ ในเยอรมนี และจอง พอล ชาร์ต อัลเบอร์ต คามัส การ์เบียนมาแชล ได้พัฒนาอย่างแพร่หลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากผู้คนตระหนักถึงภัยร้ายของสงคราม เกิดความทุกข์ทรมานจากความรู้สึกสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้เป็นเจ้าของชีวิตของตน รู้สึกเป็นเครื่องจักร รู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยก ว้าเหว่ นักจิตวิทยาในยุคนั้น ได้พยายามแสวงหาทางออก

                มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1930 โดยนักจิตวิเคราะห์ 2 ท่าน คือ ลุควิก บินส์เวอนเกอร์ และเมออาร์บอส หลังจากพวกเขาได้อ่านผลงานของเคิร์กการ์ดและมีอีกหลายท่าน เช่น วิคเตอร์ แฟรงเคิล ไม่เห็นดอยกับแนวคิดของฟรอย์ดได้พัฒนาการบำบัดแบบโลโก้ เป็นชาวยิวถูกจับไปกักกันในค่ายนาซี ทุกคนในครอบครัวของเขาเสียชีวิตที่นี้ผลักดันให้เขาต่อสู้ไม่ยอมพายแพ้ต่อสภาพแวดล้อมใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย120 แห่งทั่วโลก มีความเห็นว่าความรักคือเป้าหมายสูงสุดที่มนุษย์พึงปรารถนา บุคคลจะพ้นภัยได้เพราะความรักแม้อยู่ในสภาวะที่โหดร้ายก็สามารถรักษาอิสระทางวิญญาณได้

                โรลโล เมย์ นำเอาปรัชญาแบบภวนิยมจากยุโรปไปสู่อเมริกา ชีวิตที่บ้านไม่มีความสุขเขาประสบความล้มเหลวสองครั้งเขาป่วยเป็นวัณโรคขณะศึกษาปริญญาเอกต้องหยุดพักการศึกษาสองปี ได้แต่งหนังสือหลายเล่มที่สะท้อนถึงลักษณะของมนุษย์ช่วยให้คนค้นพบความหมายของชีวิต ทำให้ชีวิตมีคุณค่า เออร์วิน ยาลอม ได้ใช้ประสบการณ์ทางคลินิกและการวิจัยเชิงทดลงในการพัฒนาวิธีการแบบภวนิยม

ทรรศนะเรื่องธรรมชาติมนุษย์

                1. มนุษย์มีคุณค่าเอกลักษณ์เฉพาะตน ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี บุคคลต้องให้ความสำคัญกับตนเองเท่าๆ กับให้ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ต้องรู้จักและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง บุคคลอาจสูญเสียความเป็นตัวเองโดยดำเนินชีวิตตามความคาดหวังของผู้อื่นหรือดำรงชีวิตตามที่ผู้อื่นกำหนด ค้นหาค่านิยมจากคนสำคัญของโลกมากว่าค้นหาคำตอบภายในตนเอง พยายามสร้างความพึงพอใจให้คนอื่นยอมรับ

                2. มีเสรีภาพในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเองเมื่อมนุษย์ขาดเสรีภาพทางสังคมแต่มาสามรถลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงได้ สิ่งแวดล้อมไม่ได้กำหนดตัวเราแต่เราเป็นผู้กำหนดตัวเราเองว่าจะยอมแพ้หรือต่อสู้ การดำรงชีวิตที่ไม่แท้จริงคือการกล่าวโทษตำหนิสิ่งแวดล้อม และการเลือกนั้นต้องมีความรับผิดชอบด้วยเหมือนผู้สร้างชีวิตและสร้างปัญหาให้ตนเอง

                3. มนุษย์มีความตระหนักรู้ในตนเอง ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ตัดสินใจสร้างทางเลือกได้อย่างอิสระ หากเลือกจากความเห็นของคนอื่นเขากำลังแสวงหาการยอมรับจากผู้อื่นแทนที่จะเป็นตัวของตัวเอง

                4. มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีสังคมและสิ่งแวดล้อม

                5. มนุษย์ไม่ใช่ตัวตนที่คงที่มีความยืดหยุ่นและวิวัฒนาการตลอดเวลา

                6. ชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความหมาย บุคคลมีการแสวงหาความหมายของชีวิต ความต้องการความหมายของชีวิตเป็นแรงจูงใจอันดับแรกของมนุษย์ มนุษย์พร้อมที่จะเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ ตราบที่เขามองเห็นความหมายในสิ่งนั้น

ขั้นตอนการปรึกษา

1. ขั้นเริ่มต้น สร้างสัมพันธภาพที่มีความเคารพ

2. ขั้นดำเนินการให้การปรึกษา เน้นการรับรู้ในปัจจุบันที่นี่และเดี๋ยวนี้

2.1 ทำความเข้าใจกับประสบการณ์ของผู้รับการปรึกษา

2.2 ช่วยให้ผู้เข้ารับการปรึกษารับรู้และตระหนักถึงความมีอยู่ของตน

2.3ช่วยให้ผู้เข้ารับการปรึกษาค้นหาความหมายและเป้าหมายของชีวิต

2.4 ช่วยให้ผู้เข้ารับการปรึกษาได้รับรู้และให้เสรีภาพของตนอย่างเต็มที่

2.5 ช่วยให้ผู้เข้ารับการปรึกษาสามารถเลือกสิ่งที่มีคุณค่าต่อตน

2.6 ช่วยให้ผู้เข้ารับการปรึกษารับผิดชอบในสิ่งที่เลือกและการกระทำของตน

2.7 ช่วยให้ผู้เข้ารับการปรึกษาเชื่อมั่นในการตัดสินใจและนำตนเองสู่จุดหมาย

3. ขั้นยุติการปรึกษา เปิดโอกาสให้ทบทวนสิ่งที่ได้รับอาจให้ข้อมูลย้อนกลับเพิ่มเติมตามทรรศนะคติภวนิยม

เทคนิคการให้การปรึกษา

                ไม่มีเทคนิคอย่างชัดเจน มีอิสระที่จะบูรณาการเทคนิคต่างๆ มาใช้ โดยต้องใช้ด้วยความเคารพในความเข้าใจของผู้รับการปรึกษา โดยกระตุ้นให้เขาตระหนักว่าเขาเป็นบุคคลที่มีอิสระมีบทบาทเป็นผู้เลือก เช่น อาจใช้เทคนิคการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์หรือแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบจิตวิเคราะห์หรือแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง อาจแบ่งได้เป็นข้อดังต่อไปนี้

1. วิธีเผชิญความจริงให้กล้ายอมรับความจริง

2. อธิบายให้เขาเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขา

3. ให้เขาเรียนรู้วิธีตัดสินใจอย่างถูกต้อง

4. อธิบายด้วยเหตุและผลให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหาของตน

5. วิธีหันเหความสนใจโดยทำให้โกรธหรือมีอารมณ์ขันเพื่อหันความสนใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมองเหตุการณ์นั้นด้วยมุมมองใหม่

                เป็นทฤษฏีการให้คำปรึกษาที่ใช้แก้กับปัญหาสำหรับผู้ที่มีทุกข์ระดับอารมณ์และความรู้สึกโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า  ความหมายของความเป็นมนุษย์คืออะไร  เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาที่ว่าความหมายของชีวิตคืออะไร  ทฤษฏี  Existentialism  นี้นับเป็นกระแสที่  3  ในวงการจิตวิทยาและการให้คำปรึกษา เป็นการตอบโต้ทฤษฏีจิตวิทยาวิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม  ผู้ให้คำปรึกษา  Existentialism  นี้ยืนยันที่จะไม่ตัดสินมนุษย์  จุดสนใจของผู้ให้คำปรึกษาทฤษฏีนี้อยู่ที่เงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ซึ่งรวมถึงความสามารถที่จะมีสติเป็นของตัวเอง  มีอิสระในการตัดสินใจในโชคชะตาของตนเองแต่จะต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นจากขึ้นการตัดสินใจ  อีกทั้งวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลที่เป็นไปอย่างไร้ความหมายอันแตกต่างไปจากผู้อื่น  ก็เป็นจุดสนใจของทฤษฏี  เช่นกัน ทฤษฏีนี้เชื่อว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพของคนปกติขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละคน  ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อเองพัฒนามาจากสภาพความเป็นทารก  ความคิดหลักของมนุษย์  ได้แก่  ข้อกำหนดที่จะต้องปฏิบัติของตนเอง และความต้องการที่ จะก้าวไป ข้างหน้าอันเป็นความต้องการที่จะแสดงออก  หรือต้องการจะเป็นอะไรสักอย่าง  ซึ่งเป็นวิธีการที่มีทิศทางในอนาคต  และเน้นที่การมีสติก่อนที่จะลงมือกระทำการใด    บุคคลสำคัญในทฤษฏี  Existentialism   นี้ได้แก่   Binswanger  May  และ  Frankl

ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์

                ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์เรามีอิสรภาพ (Freedom) ที่จะแสวงหากำหนดกฎเกณฑ์และความหมายให้ชีวิตของตนเอง (Meaning  of  life)  มีอิสรเสรีภาพเฉพาะตัว  และเราไม่สามารถจะทำนายพฤติกรรมของมนุษย์ล่วงหน้าได้  การที่คนเรามีอิสระที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใด  หรือเลือกว่าจะเป็นผู้ให้หรือรับต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ตาม   เราจะต้องรับผิดชอบ (Responsibility)  ต่อการกระทำและผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตนเอง

โครงสร้างบุคลิกภาพและพัฒนาการ

                  คนเรามีชีวิตอยู่เพื่อที่จะหาความหมายให้กับชีวิต(Meaning  of  life)  ของตนเอง  อยู่ไปทำไมหรืออยู่ไปเพื่ออะไร   ซึ่งความหมายของชีวิตหรือความรับผิดชอบของมนุษย์แต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป    อันเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมเฉพาะที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน

เป้าหมายของการให้คำปรึกษา

           เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดสภาพการรู้จักตนเอง  เข้าใจถึงศักยภาพของตนเองเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ทราบวิธีการจัดอุปสรรค์ที่จะมาขัดขวางการเพิ่มพูนศักยภาพภายในตนเองผู้ให้คำปรึกษาจะพยายามช่วยผู้รับคำปรึกษาได้ใช้ศักยภาพของตนเอง  ในการเลือกหาความหมายของชีวิตให้เหมาะสมกับตนอย่างมีอิสรเสรีภาพ ( Freedom)  แต่ผู้รับคำปรึกษาจะต้องรับผิดชอบ (Responsibility) ต่อการตัดสินใจเลือกเป้าหมายในการดำเนินชีวิตของตนเอง

เทคนิคและอุปกรณ์ใช้ในการให้คำปรึกษา
                เทคนิคที่ทฤษฏี   Existentialism   เน้นเป็นเบื้องต้นก็คือ  ความเข้าใจความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับคำให้คำปรึกษาส่วนเทคนิคอื่น  ๆนอกเหนือนี้  มักจะยืมเทคนิคจากทฤษฏีอื่นมาใช้ผสมผสานเข้าด้วยกัน  เช่นใช้วิธีการวิเคราะห์ทางจิต  โดยนำเอาเทคนิค Free Association  มาใช้  โดยผู้ให้คำปรึกษาจะป้อนคำถามและให้ผู้รับคำปรึกษาตอบคำถามนั้นทันทีโดยไม่ต้องคิดเช่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น