บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล คือ บริการศึกษาเด็กเป็นรายุคคล เป็นบริการอันดับแรกของบริการแนะแนว
เป็นบริการที่ทำให้ผู้แนะแนวและครูสามารถรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ช่วยผู้แนะแนวสามารถรู้จักตัวนักเรียนมากยิ่งขึ้น
และสามารถหาทางช่วยเหลือได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
การศึกษาและการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว
เช่น ผู้บริหาร ครูแนะแนว ครู
รวมทั้งบิดามารดาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถรู้จักและเข้าใจนักเรียนได้อย่างดี
การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล
ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ “การรวบรวมข้อมูล”
หลักในการรวบรวมข้อมูล
1. ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลที่ชัดเจน
สามารถเข้าใจได้ง่าย
2. ข้อมูลที่จัดหาต้องตรงความเป็นจริง
และเป็นข้อมูลที่สรรหามาเป็นอย่างดี
3. เป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เท่าทันเหตุการณ์
ไม่ล้าสมัย
4. เมื่อได้ข้อมูลหลาย ๆ อย่างแล้ว
ต้องเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันจัดให้เข้าพวกเข้าหมู่อย่างมีระเบียบ
5. ข้อมูลที่ได้ต้องเก็บเข้าแฟ้มให้เรียบร้อย
เพื่อจะได้สามารถได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ได้รวดเร็วเมื่อต้องการใช้
วิธีรวบรวมข้อมูล
1. การสังเกต เพื่อดุพฤติกรรมของเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวินิจฉับปัญหา
การสังเกตพฤติกรรมของเด็กต้องมีวัตถุประสงค์ในการสังเกต การสังเกตแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. แบบให้คะแนน
จะใช้ตัวเลขแทนการบอกคุณลักษณะที่ต้องการจะประมาณค่า
2. แบบพรรณนา จะบรรยายคุณลักษณะ ความสูงต่ำ
มากน้อยของคุณสมบัติแล้วให้ผู้ประมาณค่าใส่เครื่องหมายที่ช่องว่างหน้าข้อความที่ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของผู้ประมาณค่า
3. แบบกราฟ ผู้ประมาณค่าจะใส่ลงตามช่องพฤติกรรมที่เหมาะสม
เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด
4. แบบเปรียบเทียบ
ใช้เปรียบเทียบค่าของสิ่งที่ได้ประมาณแล้วของเด็กสองคน โดนำเอาลักษณะต่างๆ
มาเปรียบเทียบกันในลักษณะที่เท่ากัน ดีกว่ากัน เลวกว่ากัน
มาตราส่วนเปรียบเทียบเป็นวิธีการนำเอาลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน
2. การออกแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
จากบุคคลจำนวนมากโดยใช้ระยะเวลาสั้น ๆ และจะได้ข้อมูลจำนวนมากอย่างกว้าง ๆ
สามารถประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย แบบสอบถามทั่วๆ ไปมี 3 ลักษณะคือ
1. เป็นแบบสอบถามที่ต้องการทราบเรื่องราวที่เป็นความจริง
โดยให้ตอบรับหรือปฎิเสธสั้นๆ เท่านั้น
2. เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบเปิดเผยความรู้สึกหรืออารมณ์ส่วนตัว
3. เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบมีโอกาสตอบอย่างเสรีตามความคิดเห็นของตนเอง
3. สังคมมิติ เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล
โดยการใช้จัดสถานภาพทางสังคมของเด็กเพื่อทราบถึงสภาพหรือความสัมพันธ์ของเด็กที่อยู่สังคมเดียวกัน
ทำให้ทราบถึงบุคลิกภาพของเด็กที่มีผลต่อสภาพสังคมรอบๆ สังคมมิติคือ
วิธีการที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์
เกี่ยวกับสังคมของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันโดยใช้วิธีการถามถึงสภาพความรู้สึกของเด็กแต่ละคนที่มีต่อเพื่อนร่วมกลุ่มของตน
4. การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี เป็น วิธีที่ใช้สำหรับสรุปข้อมูลของบุคคลเป็นรายๆ
ไปถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอ
ผลรวมของบุคลิกภาพ ซึ่งต้องมีการศึกษาประวัติรวบรวมข้อมูลมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
และกระทำต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บุคคลผู้ประสบปัญหาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ได้และจะออกมาในลักษณะของการวิเคราะห์โดยการตีความหมายของข้อเท็จจริงต่างๆ
จากข้อมูลที่รวบรวมไว้ในการศึกษารายกรณีต้องดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ขั้นตั้งปัญหา โดยการเลือกเด็กที่ต้องการศึกษา
2. ขั้นรวบรวมข้อมูล เก็บรวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อการศึกษาปัญหาหรือการกระทำ
2. ขั้นรวบรวมข้อมูล เก็บรวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อการศึกษาปัญหาหรือการกระทำ
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
การหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลจากแห่งที่เชื่อถือได้
4. ขั้นตั้งปัญหา เป็นการศึกษาวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาของเด็ก
5. ขั้นติดตามผล
เป็นการติดตามผลที่แก้ไขปัญหาไปแล้วได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่
เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงใหม่
5. ระเบียบพฤติการณ์ เป็นวิธีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างย่อๆ ในช่วงเวลาหนึ่งแล้วสรุปผลออกมา
สรุปแล้วระเบียบพฤติการณ์เปรียบเสมือนกับการถ่ายภาพการกระทำต่างๆ
ของเด็กในแต่ละครั้งในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นออกมาเป็นข้อความบรรยายอย่างชัดเจน
6. พฤติกรรมวรรณา เป็นการรายงานพฤติกรรมเกี่ยวกับทุกๆ ด้านของนักเรียน
เพื่อช่วยให้ครูและผู้แนะแนวมีความเข้าใจเด็กยิ่งขึ้นพฤติกรรมวรรณาแตกต่างกับมาตราส่วนประมาณค่า
และระเบียบพฤติการณ์
พฤติกรรมวรรณาจะช่วยสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากมาตราสาวนประมาณค่าและระเบียบพฤติการณ์ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมจะจัดแยกกันไว้เป็นหมวด
7. ระเบียบสะสม เป็นการบันทึกข้อมูลต่างๆ
เกี่ยวกับตัวเลขตั้งแต่เริ่มเข้เรียนจนกระทั่งออกจากโรงเรียนจนออกจากโรงเรียน
ระเบียบสะสมจะมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขดังนี้ คือ
1. ข้อมูลส่วนตัว
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ
3. ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน
4. ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาบุคลิกภาพ
5. ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการทดสอบ
6. ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรม
7. ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพ
8. ข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวเข้ากับสังคม
9. ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบพฤติการณ์
ระเบียบสะสมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดใส่ซอง
โดยข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนจะแยกกรองลงในแผ่นระเบียบเป็นแต่ละชนิดไป
2. ชนิดพับ โดยข้อมูลทั้งหมดจะกรอกในกระดาษแผ่นเดียวแล้วพับ
เป็นแบบที่นิยมกันมากในโรงเรียน
8. การไปเยี่ยมบ้าน
เป็นวิธีที่ครูเดินทางไปเยี่ยมนักเรียนเพื่อพบปะปรึกษาหารือกับผู้ปกครอง
เพื่อช่วยให้ครูเข้าใจนักเรียนอย่างลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา
โดยครูจะได้ทราบเรื่องราวของนักเรียนจากผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาได้
หลักในการไปเยี่ยมบ้าน
1. ก่อนไปเยี่ยมบ้าน
ครูต้องทราบประวัติส่วนตัวของนักเรียนอย่างดีเสียก่อน
2. ควรติดต่อให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้าก่อน
3. ไม่ควรไปบ่อย หรือไปแต่ละครั้งแล้วอยู่นานๆ
4. เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพภายในบ้าน
ฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ความสัมพันธ์ของบุคคลภายในครอบครัว
ความสนใจของครอบครัว รวมทั้งสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้าน
5. ครูต้องมีกลวิธีในการสัมภาษณ์อย่างดี
6. ครูต้องปรับตัวเข้ากับผู้ปกครองได้อย่างดี
7. บุคคลที่ทำหน้าที่ต้องทำด้วยความสมัครใจไม่ใช่ฝืนใจทำ
8. พยายามสร้างความประทับใจต่อผู้ปกครอง
9. ต้องกลับมาจดบันทึกทุกครั้งจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
เมื่อสงสัยจะได้อ่านดู
9. กลวิธีระบายความในใจ คือวิธีการทดสอบบุคลิกภาพของเด็ก
โดยให้เด็กได้แสดงความรู้สึกออกมาโดยใช้เครื่องเร้ากระตุ้นแล้วนำไปตีความหมายอีกครั้งหนึ่ง
กลวิธีระบายความในใจอยู่ 2 ชนิดคือ
1. แบบทดสอบการใช้หยดหมึกของรอส์ชาช
โดยให้ผู้รับทดลองดูภาพจากหยดหมึกจำนวน 10 ภาพ
แล้วให้แสดงความนึกคิดว่าเห็นอะไรจากภาพเล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์
2. แบบทดสอบของการดูภาพที่ไม่มีคำอธิบาย เป็นการตรวจดูภาพโดยให้ดูจากรูปภาพไม่มีคำอธิบาย
แบ่งออกได้หลายวิธีดังนี้
2.1 แบบทดสอบให้บอกสิ่งที่เห็นจากภาพ
2.2 แบบทดสอบการแสดงปฏิกิริยาระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
2.3 ข้อทดสอบเด็ก
2.4 ข้อทดสอบการเล่าเหตุการณ์จากรูปภาพ
2.5 ข้อสอบเทคนิคเกี่ยวกับการเล่น
10. การใช้แบบสำรวจปัญหา การใช้แบบสำรวจปัญหา เป็นวิธีสำรวจปัญหาของเด็ก
ดูว่าเด็กมีปัญหาอะไรบ้าง ผู้ดำเนินการจะต้องรวบรวมปัญหาไว้มาก ๆ
แล้วนำปัญหาเหล่านั้นมาเขียนข้อความที่สละสลวย
การสำรวจปัญหาจะต้องช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาของนักเรียนเพื่อนำไปจัดการแก้ไขต่อไป
11. การทดสอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพ
ทัศนคติ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดลักษณะที่แท้จริงของนักเรียน
เพื่อทำให้เข้าใจนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น การใช้แบบทดสอบต้องระวังความผิดพลาด
ข้อทดสอบต้องมาตรฐานเที่ยงตรง เชื่อถือได้
การนำข้อทดสอบมาใช้ต้องแน่ใจว่าสามารถใช้ได้ผล
การใช้ข้อทดสอบศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ควรใช้ภายหลังวิธีอื่น ๆ
ชนิดของข้อทดสอบที่ใช้ในการแนะแนวที่สำคัญๆ มีดังนี้
1. ข้อทดสอบใช้วัดสติปัญญา
2. ข้อทดสอบวัดความถนัดตามธรรมชาติ
3. ข้อทดสอบวัดความสนใจ
4. ข้อทดสอบวัดความสัมฤทธิ์
5. ข้อทดสอบเกี่ยวกับการปรับตัว
6. ข้อทดสอบวัดบุคลิกภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น